หน้าหลัก

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog ของด.ช ชวกร รัตนมุณี

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สาเหตุที่ทำให้สัตว์สูญพันธ์

                                                           สาเหตุที่ทำให้สัตว์สูญพันธ์
 แบ่งออกได้หลายประการดังนี้                                                                                                            

การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ จากการที่จำนวนประชากรในประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าเพื่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำการเกษตร ตัดถนนหนทางเพื่อการคมนาคม เป็นการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ป่า ทำให้พื้นที่ในการหาอาหารและขยายพันธุ์ลดลง สภาพนิเวศมีการเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบถึงโซ่อาหารและสายใยอาหาร เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์สูญพันธุ์

การล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารและใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การล่าช้างเพื่อเอางามาทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ การล่าแรดและเลียงผาเพื่อนำเอาเนื้อ หนัง เขา นอ มาทำยารักษาโรค เครื่องประดับ และเพื่อการค้า แต่เดิมมามนุษย์ล่าสัตว์เพื่อการยังชีพเท่านั้น การล่าสัตว์ใช้อาวุธธรรมดาไม่สลับซับซ้อน ต่อมามนุษย์ได้พัฒนาวิธีการล่าสัตว์ได้รวดเร็วขึ้น แม่นยำ ด้วยอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอาวุธปืนและยานพาหนะหาได้ง่าย การล่าสัตว์ทำได้ง่ายขึ้น บางครั้งจึงล่าสัตว์เป็นการกีฬา และใช้ประโยชน์จากชีวิตของสัตว์เพื่อความบันเทิง และสร้างความร่ำรวยโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ระยะยาว จะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยเคยส่งสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าเป็นสินค้าออก เช่น หนังสัตว์ งาช้าง นอแรด เขาสัตว์ จนสัตว์เหล่านี้ลดจำนวนลงอย่างมากและรวดเร็วตุที่ทำให้สัตว์สูญการ

กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการ อาทิ การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงโดยไม่มีคู่ ทำให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ สัตว์ป่าบางชนิด เช่น ชะนีต้องฆ่าแม่ชะนีเพื่อเอาลูกชะนีมาเลี้ยง และสิ่งที่สำคัญก็คือการเลี้ยงสัตว์โดยที่ไม่ได้ศึกษาถึงชีววิทยาของสัตว์เหล่านั้นมาดีพอ ทำให้เลี้ยงไม่รอด โดยเฉพาะสัตว์ป่าหายากหรือชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ประชาชนจึงไม่ควรซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยง ทั้งนี้เป็นการป้องกันและยุติการนำสัตว์ป่ามาขายด้วย

การขาดการวางแผนที่จะอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต้องเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับ ให้เข้าใจถึงชีววิทยาและสภาพแวดล้อมของสัตว์เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ การใช้ประโยชน์จากสัตว์และซากสัตว์อย่างรู้คุณค่า รวมไปถึงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ในระยะยาว ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่างๆ รวมทั้งสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารและเศรษฐกิจพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น